บัญชี ปิติ วิบูลย์ธนภัณฑ์ ธ.กสิกรไทย สาขาตราด 225-2-33197-5

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ไม้มุมเพื่อคุณภาพรังที่ดี

คงมีคำถามอยู่ในใจหลายๆท่านเรื่องไม้ปิดมุมว่าควรปิดไว้หรือไม่และควรติดอย่าไรดี ส่วนตัวผมว่าทุกแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป เรามาลองแยกเป็นข้อๆดีกว่านะครับ

  1.ไม่ปิดมุมเลยปล่อยให้เป็นมุม90องศา เป็นที่รู้กันนะครับว่านกชอบที่จะทำรังที่มุมก่อน สาเหตุก็เพราะว่านกก็ขี้เกียจเป็นเหมือนกันครับการที่เกาะที่มุม90องศาทำรังง่ายใช้น้ำลายน้อยทำรังได้เร็วกว่าเพราะพื้นที่แคบกว่าและยังรู้สึกอบอุนกว่าด้วยครับ ดังนั้นรังแรกของบ้านมักจะเป็นรัง90องศาก่อนเสมอ แต่รังมุม90มีราคาที่ถูกกว่ารังแปลมากครับ เวลาขายก็มักโดยกดราคา ถ้าจะรอให้นกทำรังก่อนแล้วค่อยมาปิดมุมที่หลัง ในความเป็นจริงแล้วทำได้ยากครับ เป็นการรบกวนนกมากทีเดียวแถมยังไม่สะดวกคงนึกภาพการทำงานในที่มืดได้นะครับ
2.ใช้ไม้ตีรังปิดมุมอันนี้น่าคิดครับเพราะยังเป็นมุมอยู่แถมใช้ไม้ที่เหลือมาทำได้อีกเป็นทางเลือกที่ประหยัดมากทีเดียวรังที่ออกมาเป็นรังแบบ 180องศา ได้ราคาสูงกว่ารัง 90องศาเล็กน้อย แต่ปัญหาก็คือแทนที่จะได้รังมุมรังเดียวแต่กลับไปเพิ่งรังมุมเป็น2มุมอีก แล้วจะคุ้มมั้ยเนี้ย!!!
  3.ใช้ไม้ปิดมุมแบบโค้งเข้ามุม แบบนี้จะได้รังมุมที่โค้งเล็กน้อยได้ราคาสูงใกล้เคียงรังแปลครับ แต่ทำให้นกทำรังได้ยากกว่ารังมุมครับ แถมราคาก็สูงกว่าการเอาไม้ตีรังมาทำมุมอีก คำถามที่เกิดขึ้นกันหลายๆท่านจึงเกิดขึ้น แล้วทำอย่าไรจะดีที่สุดล่ะ  ส่วนตัวของผมบ้านหลังล่าสุดที่ผมกำลังทำอยู่นั้นผมใช้วีธีนี้ครับ ใครสนใจเอาไปลองใช้ก็ไม่หวงนะครับ
 ผมใช้ไม้ปิมุมแบบโค้งครับ แต่ไม่ปิดทุกมุม เหลือมุมด้านริมไว้ให้เป็นมุมแบบ90องศาโดยรอบ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนกโดยที่มุมส่วนใหญ่เป็นรังมุมโค้ง และมีมุม90ไว้เป็นทางเลือก

เปรียบเทียบรังมุม90กับรังมุมที่ปิดไม้มุม
 และอีกเทคนิดหนึ่งก็คือผมใช้ไม้มุมแบบโค้งขนาด6นิ้วมาติดไว้ที่ไม้หน้า8นิ้ว  เราก็จะได้ทั้งรังมุมโค้งและยังได้รังมุม90อีกหนึ่งรังมาเป็นของแถมอีกด้วย เพราะมุมจะหลบกับทำให้นกทำรังด้านใต้ได้อีกครับ
สุดท้ายขอแนะนำวิธีเลือกไม้มุมให้ท่านผู้อ่านได้ไปลองเลือกกันดูนะครับ ไม้ที่นำมาทำไม้มุมนั้นควรเป็นไม้สยาแดงครับ และต้องแห้งไม่สดเพราะจะเป็นราง่าย และนกก็ชอบไม้ที่เก่าเพราะจะไม่ค่อยมีกลิ่น ไม่ใช่ว่าเสียตังซื้อไม้ปิดมุมมาแล้วแต่นกกลับไม่ยอมเกาะทำรังเลย ไม้ที่ผมนำมาใช้นั้นนำเข้าจากมาเลเซียครับเป็นไม่ที่แห้งมากและ ด้วยการออกแบบที่ดีและง่ายต่อการติดตั้ง คือเวลาเข้ามุมแล้วไม่ติดหัวตะปูและ ติดตั้งได้แม้จะตีไม้ไม่ได้ฉาก หรือกับตัวบ้านที่ไม่เป็นฉาก ท่านใดที่กำลังจะเปิดบ้านในฤดูนี้ก็ขอเอาใจช่วยทุกๆท่านให้ประสบความสำเร็จทุกๆท่านนะครับ ขอบคุณครับ

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

หม้อหุงข้าว ปะทะ UFO

มีหลายท่านที่โทรมาสอบถามถึงข้อแตกต่างของ เครื่องทำความชื้น 2 รุ่นนี้บ่อยครั้ง ซึ่งผมจะเรียกว่า หมอหุงข้าว vs UFO วันนี้จึงจับมาเปรียบเทียบให้หายข้อข้องใจกันนะครับ

เริ่มตั้งแต่ภายนอกกันก่อนนะครับ ทางUFOขนาดตัวที่ใหญ่กว่ากันมากที่เดียว สังเกตุจากกล่องของทั้งสองรุ่น และUFOยังมีฝาครอบและใบบังคับทิศทางของละอองน้ำมาให้ด้วยส่วนเปลือกพลาสติกด้านนอกนั้นทางUFOก็หนาด้วยนะครับ
ถาดน้ำและลูกลอยกันน้ำล้น

ทางซ้ายมือเป็นถาดของUFO ทางซ้ายมือเป็นของหม้อหุงข้าว
ทั้งสองตัวเป็นถาดแสตนเลสเหมือนกันต่างกันที่ขนาด UFOได้เปรียบเรื่องของขนาดถาดที่ใหญ่กว่าจุน้ำเยอะกว่า ส่วนลูกลอยเหนือกว่าเห็นๆด้วยการออกแบบและวัสดุที่ใช้ UFO ใช้เป็นพลาสติกหนากว่าแข็งแรงกว่ามากเลยที่เดียวและยังใช้น็อตสกูลแสตนเลสปรับปริมาณน้ำกันล้นได้แม่นยำกว่า ง่ายกว่า
ทางหมอหุงข้าว ต้องใช้มือดัดให้ได้ปริมาณน้ำที่ต้องการ ทางที่ใส่สายยาง UFO ให้มาเป็นทองเหลืองไม่แตกหัก สามารถรัดสายยางได้แน่น โดยไม่กลัวหัก ผิดกับหม้อหุงข้าวที่ใช้พลาสติก ซึ่งมีโอกาสแตกหักได้ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมได้

มาดูบอดี้ด้านในบ้าง ทางUFO ทำจากโลหะ แต่ทางหม้อหุงข้าวเป็นพลาสติกครับ โดยเฉพาะจุดที่ยึดน๊อตบาลานซ์ ไม่ต้องพูดถึงความแข็งแรงนะครับ 
ที่คำคัญที่สุดที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือปริมาณละอองน้ำตามที่เอกสารที่แนบมาบอกให้รู้ถึงปริมาณละอองน้ำของแต่ละรุ่น ทางหม้อหุงข้าวทำละอองน้ำได้2-2.5ลิตร ต่อ ชม. ส่วนทางUFO ทำได้ 4-6 ลิตรต่อ ชม.มากกว่ากันเท่าตัวครับ ส่วนผมได้นำเครื่องทำความชื้นทั้งสองรุ่นมาเปิดเปรียบเทียบกันดูUFOทำหมอกได้เร็วและหนากว่าหม้อหุงจริงๆครับ แถมหมอกยังละหลายตัวช้ากว่า หม้อหุงข้าว แสดงให้เห็นถึงความละเอียดของละอองน้ำ อย่าเห็นได้ชัด
สุดท้ายก็ต้องขอบอกก่อนนะครับว่านี่เป็นการเปรียบเทียบของผมเองบางคนอาจจะเห็นต่างจากผมก็ไม่ผิดอะไร และสำหรับท่านที่โทรมาสอบถามก็คงหายข้องใจกันแล้ะนะครับ ท่านที่ต้องการเสนอแนะหรือมีข้อมูลเพิ่มเติม ก็เมลมาคุยกันได้นะครับที่  admin@ennthai.com  ขอบคุณครับ